สืบเนื่องจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเตือนให้ประชาชนระวังธนบัตรปลอมที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ เช่นเดียวกับสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์-ตำรวจ ก็ได้แนะนำขั้นตอนตรวจสอบธนบัตรแบบง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนบัตรใบละ 1000 บาท เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อรับแบงก์ปลอมมาใช้ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร สายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์แนะการสังเกตธนบัตรปลอมว่า มีการตรวจพบธนบัตรปลอมได้จำนวนหนึ่ง โดยปีนี้พบ 18,895 ฉบับ มูลค่าปลอมประมาณ 12.3 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 74 ซึ่งตามกฎหมายผู้ที่มีเจตนาในการใช้ธนบัตรปลอมโทษสูงสุด 15 ปี ถ้าผู้ทำปลอมโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต
จากนั้นนายวรพรได้แยกแยะวิธีการดูธนบัตรฉบับละ 1000 บาท ปลอม ให้ยึดหลักใหญ่ๆ 3 หลัก คือ การสัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง คือการพลิกไปพลิกมา ซึ่งจะมีเอฟเฟกต์ของการเปลี่ยนสีบางอย่างเกิดขึ้นบนธนบัตร อันแรกการสัมผัส คือสัมผัสที่เนื้อกระดาษ ของ ปลอมเนื้อส่วนใหญ่จะไม่แข็งแรงเหมือนธนบัตรจริง ถ้าของจริงความรู้สึกของความแข็งแรง เนื้อกระดาษที่เป็นของปลอมส่วนใหญ่จะลื่นๆ ของจริงดูสากๆ นอกจากนั้นวิธีการพิมพ์เส้นนูน หมึกจะกองอยู่บนเนื้อกระดาษ ถ้าใช้นิ้วลูบดูจะรู้สึกถึงความนูน เช่น ตัวเลขมุมขวาบน ถ้าของจริงจะมีลักษณะนูน ถ้าปลอมตัวเลขจะเรียบ ในส่วนที่เป็นเส้นนูนคำว่ารัฐบาลไทย กับคำว่าหนึ่งพันบาท จะนูน ฉะนั้นต้องดูหลายๆที่ อย่าดูที่ใดที่หนึ่ง
ส่วนการยกส่องกับแสงไฟ ถ้ายิ่งสว่างยิ่งง่ายจะเห็นในพื้นที่สีขาว สิ่งที่เห็นคือลายน้ำเป็นรูปในหลวงคมชัด ซึ่งของปลอมทำได้เห็นเงา แต่ไม่เห็นลายเส้นของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ของจริง ลายน้ำคมกริบ และมีความโปร่งสวยงาม การที่ดูอย่าดูว่ามี ให้ดูว่าชัดอย่างไร เพราะตอนนี้วิวัฒนาการปลอมธนบัตรไปถึงขั้นทำลายน้ำแล้ว แต่ทำได้แค่คล้ายๆ การยกส่องจะเห็นเส้นหนึ่งเส้นฝังอยู่ในเนื้อกระดาษด้านซ้าย ถ้าเป็นของปลอมจะมีลักษณะแปะเอาไว้เท่านั้น ซึ่งหากสังเกตดีๆ ในเส้นดังกล่าวจะมีตัวหนังสืออยู่บนเส้นเป็นลายฉลุ มีคำว่าหนึ่งพันบาทตามแนวนอน
อันที่สาม พลิกเอียง สำหรับธนบัตร 500 กับ 1000 บาท มุมขวาบนหมึกจะเปลี่ยนสีหากเป็นของจริงเมื่อพลิกเอียงจะเปลี่ยนสี ของปลอมจะไม่เปลี่ยน นอกจากนั้นให้ดูที่ฟอยล์ แต่ต้องสังเกตดีๆ บนเนื้อฟอยล์จะมีแสงสีวูบวาบมากมาย
นอกจากนั้น ผอ.ฝ่ายวางแผนฯยังระบุด้วยว่า ต้องพยายามสังเกตด้วยความระมัดระวัง หากสงสัยนำมาเทียบกับของจริง โดยอย่าดูรวมๆ ต้องดูในรายละเอียด อีกจุดบริเวณมุมล่างด้านซ้ายจะมีตัวเลข 1000 ซ่อนอยู่ในมุมที่เหมาะสม โดยส่องเข้าหาแสง ซึ่งตอนนี้ของปลอมยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งตอนนี้ผู้ทำปลอมแต่ละรายจะทำได้ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกัน
ด้านนายประเวศ สุทธิรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีมีข่าวออกมาว่ามีธนบัตรปลอมหลุดเข้าไปในระบบเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ หรือตู้เอทีเอ็ม ว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่ธนบัตรราคา 1000 บาท ปลอมหลุดเข้าไปในเครื่องเอทีเอ็ม เนื่องจากการปลอมธนบัตรทำได้เหมือนมาก บาง ครั้งพนักงานของธนาคารที่ประจำอยู่เคาน์เตอร์ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าธนบัตรที่รับมาเป็นของปลอม เพราะจากการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยการส่องไปที่แสงไฟ (เครื่องมือใช้ตรวจสอบพันธบัตร) ยังไม่ทราบเลยว่าเป็นธนบัตรปลอม ตอนนี้ต้องยอมรับว่าปลอมได้เหมือนจริงทุกอย่าง และกว่าจะทราบว่าเป็นพันธบัตรปลอม เงินได้เข้าไปยังศูนย์กระจายเงินจึงตรวจพบว่าเป็นพันธบัตรปลอม ทั้งนี้ในแต่ละวันธนาคารได้รับความเสียหายประมาณ 20,000 บาท และเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ ก็ตกอยู่ในฐานะเดียวกัน ดังนั้น ในจุดนี้อยากให้ทางการและธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
“ตอนนี้แบงก์ปลอมมีมาก และตอนนี้ปลอมได้เหมือน ดูแทบไม่ออก ขนาดส่องไฟตรวจสอบแล้วยังเหมือนของจริงทุกอย่าง และแบงก์ที่ปลอมส่วนใหญ่จะทำมาลอตเดียวกัน ใช้เลขเดียวกันทั้งหมด ตอนนี้ไม่เฉพาะแบงก์พันที่ปลอม แบงก์ดอลลาร์ก็ปลอมเช่นกัน” นายประเวศกล่าว
อย่างไรก็ดี ตลอดวัน ผู้สื่อข่าวได้ออกสำรวจกระแสความตื่นตัวของคนทำมาค้าขายต่อข่าวธนบัตรปลอมระบาด พบว่าหลายแห่งเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้น โดยนางลักขณา เกตุแก้ว อายุ 60 ปี หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ป้าแกละ” เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวป้าแกละ หมู่บ้านชลนิเวศน์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีข่าวธนบัตรปลอมระบาด ก็ถูกแก๊งมิจฉาชีพนำแบงก์ 500 บาทปลอม มาหลอกซื้อของแถมยังทอนเงินคืนกลับไปอีก สี่ร้อยกว่าบาท กว่าจะรู้ตัวอีกทีว่าโดนแบงก์ปลอม ก็เมื่อเห็นสีของแบงก์ตก จึงอยากจะเตือนให้ผู้ขายของระวังภัยจากแก๊งมิจฉาชีพพวกนี้ ส่วนตนที่โดนแบงก์ปลอมเข้าไป ก็จะดูรายละเอียดให้มากขึ้น นอกจากนี้ ที่ร้านยังติดป้าย “แบงก์ 1000 ไม่มีทอน” ป้องกันไม่ให้คนให้แบงก์พัน หรือถ้าให้ก็จะมีจำนวนน้อย ทำให้เราสังเกตได้ง่ายกว่าเดิม
ด้านนางนิภาวรรณ แก้วทอง วัย 34 ปี แม่ค้าขายไก่ทอด ย่านโชคชัย 4 กล่าวหลังจากที่ทราบรู้สึกกลัวมาก กลัวว่าจะเจอกับตัวเอง เวลาที่ลูกค้ามาซื้อของ จะพยายามบอกลูกค้าให้ใช้แบงก์ร้อย หลีกเลี่ยงที่จะรับแบงก์พัน โดยจะบอกปัดว่าไม่มีเงินทอน เพราะดูไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะสังเกตอย่างไร ถ้าพลาดพลั้งไปแล้วจะทำให้ขาดทุนย่อยยับ เพราะของที่ขายมีกำไรเพียงไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาลเร่งดำเนินการปราบปรามผู้ค้าแบงก์ปลอมโดยด่วนเพื่อบรรเทาปัญหานี้
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังธนาคารกสิกรไทย สาขาหนึ่งใน กทม. ซึ่งได้รับแจ้งจากประชาชนว่าทางธนาคารดังกล่าวได้นำธนบัตรใบละ 1000 บาท 2 ใบ ซึ่งเป็นธนบัตรปลอม มีหมายเลขกำกับคือ 1G 2216622 และ 9A 6507414 ใส่กรอบติดตั้งอยู่หน้าเคาน์เตอร์ ฝาก ถอน และมีตราของธนาคารประทับว่า “ปลอม” ซึ่งเมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารรายหนึ่ง ก็ได้รับคำตอบว่า แบงก์ปลอมทั้ง 2 ใบ ตรวจสอบพบเมื่อช่วงเดือน ต.ค. และเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งแบงก์ปลอมทำเหมือนมากจนไม่สามารถแยกแยะได้ ธนาคารจึงนำแบงก์ดังกล่าวมาติดไว้ เพื่อให้ประชาชนดูเพื่อเป็นตัวอย่าง และระมัดระวัง เพราะมีการระบาดของแบงก์ปลอมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแบงก์ 500 บาท เริ่มระบาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวขอถ่ายภาพตัวอย่างแบงก์ปลอมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ธนาคารกลับไม่ให้บันทึกภาพ อ้างว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน แต่เมื่อขอติดต่อผู้จัดการประจำสาขา กลับได้รับคำปฏิเสธว่าไม่อยู่ เพราะติดประชุมที่สำนักงานใหญ่
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร สายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์แนะการสังเกตธนบัตรปลอมว่า มีการตรวจพบธนบัตรปลอมได้จำนวนหนึ่ง โดยปีนี้พบ 18,895 ฉบับ มูลค่าปลอมประมาณ 12.3 ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 74 ซึ่งตามกฎหมายผู้ที่มีเจตนาในการใช้ธนบัตรปลอมโทษสูงสุด 15 ปี ถ้าผู้ทำปลอมโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต
จากนั้นนายวรพรได้แยกแยะวิธีการดูธนบัตรฉบับละ 1000 บาท ปลอม ให้ยึดหลักใหญ่ๆ 3 หลัก คือ การสัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง คือการพลิกไปพลิกมา ซึ่งจะมีเอฟเฟกต์ของการเปลี่ยนสีบางอย่างเกิดขึ้นบนธนบัตร อันแรกการสัมผัส คือสัมผัสที่เนื้อกระดาษ ของ ปลอมเนื้อส่วนใหญ่จะไม่แข็งแรงเหมือนธนบัตรจริง ถ้าของจริงความรู้สึกของความแข็งแรง เนื้อกระดาษที่เป็นของปลอมส่วนใหญ่จะลื่นๆ ของจริงดูสากๆ นอกจากนั้นวิธีการพิมพ์เส้นนูน หมึกจะกองอยู่บนเนื้อกระดาษ ถ้าใช้นิ้วลูบดูจะรู้สึกถึงความนูน เช่น ตัวเลขมุมขวาบน ถ้าของจริงจะมีลักษณะนูน ถ้าปลอมตัวเลขจะเรียบ ในส่วนที่เป็นเส้นนูนคำว่ารัฐบาลไทย กับคำว่าหนึ่งพันบาท จะนูน ฉะนั้นต้องดูหลายๆที่ อย่าดูที่ใดที่หนึ่ง
ส่วนการยกส่องกับแสงไฟ ถ้ายิ่งสว่างยิ่งง่ายจะเห็นในพื้นที่สีขาว สิ่งที่เห็นคือลายน้ำเป็นรูปในหลวงคมชัด ซึ่งของปลอมทำได้เห็นเงา แต่ไม่เห็นลายเส้นของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ของจริง ลายน้ำคมกริบ และมีความโปร่งสวยงาม การที่ดูอย่าดูว่ามี ให้ดูว่าชัดอย่างไร เพราะตอนนี้วิวัฒนาการปลอมธนบัตรไปถึงขั้นทำลายน้ำแล้ว แต่ทำได้แค่คล้ายๆ การยกส่องจะเห็นเส้นหนึ่งเส้นฝังอยู่ในเนื้อกระดาษด้านซ้าย ถ้าเป็นของปลอมจะมีลักษณะแปะเอาไว้เท่านั้น ซึ่งหากสังเกตดีๆ ในเส้นดังกล่าวจะมีตัวหนังสืออยู่บนเส้นเป็นลายฉลุ มีคำว่าหนึ่งพันบาทตามแนวนอน
อันที่สาม พลิกเอียง สำหรับธนบัตร 500 กับ 1000 บาท มุมขวาบนหมึกจะเปลี่ยนสีหากเป็นของจริงเมื่อพลิกเอียงจะเปลี่ยนสี ของปลอมจะไม่เปลี่ยน นอกจากนั้นให้ดูที่ฟอยล์ แต่ต้องสังเกตดีๆ บนเนื้อฟอยล์จะมีแสงสีวูบวาบมากมาย
นอกจากนั้น ผอ.ฝ่ายวางแผนฯยังระบุด้วยว่า ต้องพยายามสังเกตด้วยความระมัดระวัง หากสงสัยนำมาเทียบกับของจริง โดยอย่าดูรวมๆ ต้องดูในรายละเอียด อีกจุดบริเวณมุมล่างด้านซ้ายจะมีตัวเลข 1000 ซ่อนอยู่ในมุมที่เหมาะสม โดยส่องเข้าหาแสง ซึ่งตอนนี้ของปลอมยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งตอนนี้ผู้ทำปลอมแต่ละรายจะทำได้ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกัน
ด้านนายประเวศ สุทธิรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีมีข่าวออกมาว่ามีธนบัตรปลอมหลุดเข้าไปในระบบเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ หรือตู้เอทีเอ็ม ว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่ธนบัตรราคา 1000 บาท ปลอมหลุดเข้าไปในเครื่องเอทีเอ็ม เนื่องจากการปลอมธนบัตรทำได้เหมือนมาก บาง ครั้งพนักงานของธนาคารที่ประจำอยู่เคาน์เตอร์ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าธนบัตรที่รับมาเป็นของปลอม เพราะจากการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยการส่องไปที่แสงไฟ (เครื่องมือใช้ตรวจสอบพันธบัตร) ยังไม่ทราบเลยว่าเป็นธนบัตรปลอม ตอนนี้ต้องยอมรับว่าปลอมได้เหมือนจริงทุกอย่าง และกว่าจะทราบว่าเป็นพันธบัตรปลอม เงินได้เข้าไปยังศูนย์กระจายเงินจึงตรวจพบว่าเป็นพันธบัตรปลอม ทั้งนี้ในแต่ละวันธนาคารได้รับความเสียหายประมาณ 20,000 บาท และเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ ก็ตกอยู่ในฐานะเดียวกัน ดังนั้น ในจุดนี้อยากให้ทางการและธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
“ตอนนี้แบงก์ปลอมมีมาก และตอนนี้ปลอมได้เหมือน ดูแทบไม่ออก ขนาดส่องไฟตรวจสอบแล้วยังเหมือนของจริงทุกอย่าง และแบงก์ที่ปลอมส่วนใหญ่จะทำมาลอตเดียวกัน ใช้เลขเดียวกันทั้งหมด ตอนนี้ไม่เฉพาะแบงก์พันที่ปลอม แบงก์ดอลลาร์ก็ปลอมเช่นกัน” นายประเวศกล่าว
อย่างไรก็ดี ตลอดวัน ผู้สื่อข่าวได้ออกสำรวจกระแสความตื่นตัวของคนทำมาค้าขายต่อข่าวธนบัตรปลอมระบาด พบว่าหลายแห่งเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้น โดยนางลักขณา เกตุแก้ว อายุ 60 ปี หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ป้าแกละ” เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวป้าแกละ หมู่บ้านชลนิเวศน์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีข่าวธนบัตรปลอมระบาด ก็ถูกแก๊งมิจฉาชีพนำแบงก์ 500 บาทปลอม มาหลอกซื้อของแถมยังทอนเงินคืนกลับไปอีก สี่ร้อยกว่าบาท กว่าจะรู้ตัวอีกทีว่าโดนแบงก์ปลอม ก็เมื่อเห็นสีของแบงก์ตก จึงอยากจะเตือนให้ผู้ขายของระวังภัยจากแก๊งมิจฉาชีพพวกนี้ ส่วนตนที่โดนแบงก์ปลอมเข้าไป ก็จะดูรายละเอียดให้มากขึ้น นอกจากนี้ ที่ร้านยังติดป้าย “แบงก์ 1000 ไม่มีทอน” ป้องกันไม่ให้คนให้แบงก์พัน หรือถ้าให้ก็จะมีจำนวนน้อย ทำให้เราสังเกตได้ง่ายกว่าเดิม
ด้านนางนิภาวรรณ แก้วทอง วัย 34 ปี แม่ค้าขายไก่ทอด ย่านโชคชัย 4 กล่าวหลังจากที่ทราบรู้สึกกลัวมาก กลัวว่าจะเจอกับตัวเอง เวลาที่ลูกค้ามาซื้อของ จะพยายามบอกลูกค้าให้ใช้แบงก์ร้อย หลีกเลี่ยงที่จะรับแบงก์พัน โดยจะบอกปัดว่าไม่มีเงินทอน เพราะดูไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะสังเกตอย่างไร ถ้าพลาดพลั้งไปแล้วจะทำให้ขาดทุนย่อยยับ เพราะของที่ขายมีกำไรเพียงไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาลเร่งดำเนินการปราบปรามผู้ค้าแบงก์ปลอมโดยด่วนเพื่อบรรเทาปัญหานี้
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังธนาคารกสิกรไทย สาขาหนึ่งใน กทม. ซึ่งได้รับแจ้งจากประชาชนว่าทางธนาคารดังกล่าวได้นำธนบัตรใบละ 1000 บาท 2 ใบ ซึ่งเป็นธนบัตรปลอม มีหมายเลขกำกับคือ 1G 2216622 และ 9A 6507414 ใส่กรอบติดตั้งอยู่หน้าเคาน์เตอร์ ฝาก ถอน และมีตราของธนาคารประทับว่า “ปลอม” ซึ่งเมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารรายหนึ่ง ก็ได้รับคำตอบว่า แบงก์ปลอมทั้ง 2 ใบ ตรวจสอบพบเมื่อช่วงเดือน ต.ค. และเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งแบงก์ปลอมทำเหมือนมากจนไม่สามารถแยกแยะได้ ธนาคารจึงนำแบงก์ดังกล่าวมาติดไว้ เพื่อให้ประชาชนดูเพื่อเป็นตัวอย่าง และระมัดระวัง เพราะมีการระบาดของแบงก์ปลอมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแบงก์ 500 บาท เริ่มระบาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวขอถ่ายภาพตัวอย่างแบงก์ปลอมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ธนาคารกลับไม่ให้บันทึกภาพ อ้างว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ก่อน แต่เมื่อขอติดต่อผู้จัดการประจำสาขา กลับได้รับคำปฏิเสธว่าไม่อยู่ เพราะติดประชุมที่สำนักงานใหญ่