ข่าวธนบัตรปลอมใบละ 1,000 ระบาด สร้างความปั่นป่วนไปทั่วประเทศ เพราะทำให้พ่อค้าแม่ค้าไม่รับธนบัตรใบละ 1,000 บาท
ส่งผลให้ระบบการค้าขายวุ่นวาย เพราะผู้ซื้อซึ่งก็คือประชาชนทั่วไปต้องหาธนบัตรปลีกย่อยใบละ 100 บาท หรือ 500 บาท มาจ่ายค่าสินค้า
ร้อนถึงธนาคารพาณิชย์ต้องหยอดธนบัตรใบละ 100 บาท ใส่เครื่องเอทีเอ็มเพิ่มขึ้น เพราะลูกค้าจะกดเอทีเอ็มครั้งละ 400 บาท หรือ 900 บาท จากเดิมที่เคยกดเงินครั้งเดียว 1,000 บาท
ที่น่าหวาดกลัวไปกว่านั้นก็คือ มีการ ยอมรับจากนายธนาคารทั้งไทยพาณิชย์ และกสิกรไทยแล้วว่า ขณะนี้การระบาดธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ตีวงเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
จากเดิมธนบัตรปลอมจะขยายตัวอยู่รอบนอกในต่างจังหวัด หรือตะเข็บชายแดนที่มีการค้าขาย โดยกลุ่มเป้าหมายหลักในช่วงเทศกาลปีใหม่
ส่งผลให้ระบบการค้าขายวุ่นวาย เพราะผู้ซื้อซึ่งก็คือประชาชนทั่วไปต้องหาธนบัตรปลีกย่อยใบละ 100 บาท หรือ 500 บาท มาจ่ายค่าสินค้า
ร้อนถึงธนาคารพาณิชย์ต้องหยอดธนบัตรใบละ 100 บาท ใส่เครื่องเอทีเอ็มเพิ่มขึ้น เพราะลูกค้าจะกดเอทีเอ็มครั้งละ 400 บาท หรือ 900 บาท จากเดิมที่เคยกดเงินครั้งเดียว 1,000 บาท
ที่น่าหวาดกลัวไปกว่านั้นก็คือ มีการ ยอมรับจากนายธนาคารทั้งไทยพาณิชย์ และกสิกรไทยแล้วว่า ขณะนี้การระบาดธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ตีวงเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
จากเดิมธนบัตรปลอมจะขยายตัวอยู่รอบนอกในต่างจังหวัด หรือตะเข็บชายแดนที่มีการค้าขาย โดยกลุ่มเป้าหมายหลักในช่วงเทศกาลปีใหม่
ขณะนี้คือการค้าขายในห้างสรรพสินค้าที่มีเงินสะพัดเป็นพิเศษ เนื่องจากตัวเลขการเพิ่มของจำนวนธนบัตรปลอม พบในสาขาในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น
เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกมากกว่าเดิม เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายศูนย์ เงินสดรายหนึ่ง ได้สอนเทคนิคการดูธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ซึ่งต้องยอมรับว่า ธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ล็อตใหม่ นั้นผลิตได้เหมือนธนบัตรจริง ชนิดดูด้วยตา เปล่าก็ยังไม่เห็นความผิดปกติ เพราะธนบัตรปลอมล็อตนี้จะมีฟอยล์สีน้ำเงินด้านซ้ายเหมือนของจริง เพียงแต่ธนบัตรปลอมจะไม่มีเลข 1,000 บาท ตัวเล็กๆ ในฟอยล์ หากตะแคงธนบัตรดู
ฉะนั้น วิธีการที่ดีสุดคือ ต้องสัมผัสธนบัตร เพราะธนบัตรปลอมกระดาษจะลื่นกว่าธนบัตรจริง และสำหรับพ่อค้าแม่ค้าควรจะมีธนบัตรใบละ 1,000 บาทจริงวางไว้ข้างตัว เพื่อเทียบกับธนบัตรใบละ 1,000 บาทจากลูกค้า
โดยหากนำมาเทียบกันจะเห็นความ แตกต่างชัดเจน ทั้งสีของธนบัตรจริงที่เข้มกว่า ต่างจากธนบัตรปลอมที่สีจะออกหม่น ลายน้ำไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ วิธีสังเกตธนบัตรปลอม 1,000 บาท อย่างง่ายที่สุดและรวดเร็วที่สุดสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ให้ดูตัวเลข 1,000 ที่อยู่เหนือธนบัตรมุมขวาบน ซึ่งหากนำธนบัตรวางราบจะเห็นท่อนบนเป็นสีทอง ท่อนล่างเป็นสีเขียว ไม่ว่าของจริงของปลอมจะเหมือนกัน
แต่จะแตกต่างกันทันที เมื่อนำธนบัตรพลิกเอียงให้เลข 1,000 อยู่ในแนวนอน ซึ่งธนบัตรจริงตัวเลข 1,000 จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวล้วน ต่างจากธนบัตรปลอม ต่อให้ตะแคงดูสีที่เลข 1,000 อย่างไร สีท่อนบนก็ยังเป็นสีทอง ส่วนครึ่งล่างก็ยังคงสีเขียว (ดูรูปประกอบ)
อาจมีคำถามว่า วิธีนี้จะใช้สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของตอนกลางคืนได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ เพียงแต่พ่อค้าแม่ค้าจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น อาจต้องส่องธนบัตรกับไฟในที่สว่าง แต่วิธีนี้รับรองได้ว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด เพราะตัวเลข 1,000 ของธนบัตรจริงนั้น พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ มีต้นทุนสูงกว่าธนบัตรปลอม
แต่ก็ใช่ว่าโจรหัวใสจะผลิตไม่ได้ เพียงแต่ต้องหาวิธีการและต้นทุนที่สูงขึ้นในการผลิต ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบการลอกเลียนแบบสีของ ตัวเลข 1,000 จึงอุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ความตื่นตระหนกของพ่อค้าแม่ค้า ถึงขั้นไปซื้อไฟแบล็กไลต์จากคลองถมเครื่องละ 400-500 บาท มาส่องธนบัตรนั้น พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ ยืนยันว่า แทบไม่มีประโยชน์ เพราะต้องเพ่งสังเกตลายขนแมว เท่ากับว่าต้องเป็นไฟที่ส่องได้ดี ซึ่งทางที่ดีควรนำธนบัตรส่องไฟดูลายน้ำพระบรมสาทิสลักษณ์ และรูปลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์จะโปร่งแสง มีมิติ แต่ธนบัตรปลอมพุ่มทรงข้าวบิณฑ์จะดูแบน ไม่มีมิติ หรือจะพูดภาษาชาวบ้านคือ รูปในหลวงในธนบัตรจริงจะมีความเหมือนจริงมากกว่า
พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ ยังให้สังเกตธนบัตรปลอม 1,000 บาท ล็อตใหม่ที่ระบาดหนักสุดขณะนี้ จะมีตัวเลขนำหน้า 9A 650XXXX และ 2D 150XXXX
ส่วนความคิดที่ว่า ให้รับธนบัตร 1,000 บาท ที่ดูเก่าจะดีกว่ารับธนบัตรใบใหม่นั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะธนบัตรที่พนักงานรายนี้นำมาให้ดู ทั้งหมดล้วนเป็นธนบัตรกลางเก่ากลางใหม่ที่ผ่านมือมาแล้วหลายราย หรืออาจเป็นไปได้ว่า ส่วนหนึ่งธนบัตรเหล่านี้จะถูก เก็บไว้ทดสอบกับเครื่องตรวจจับธนบัตรของธนาคาร
ในทางกลับกัน หากรับธนบัตรเก่า สำหรับผู้ที่ไม่สังเกตเนื้อกระดาษให้รอบคอบ ความผิดพลาดก็ยิ่งมีมากกว่าการสังเกตธนบัตรใหม่ ซึ่งอาจสังเกตได้ง่ายกว่า
นอกจากนี้ ยังมีความคิดของพ่อค้าแม่ค้าบางส่วนที่ให้ขยำธนบัตรจริง กับธนบัตรที่ได้รับจากการขายของไปพร้อมๆ กัน หากธนบัตรใบนั้นคลายตัวได้เร็วกว่า ก็ตีความว่าเป็นธนบัตรปลอม เพราะพ่อค้าแม่ค้ากลุ่มนี้เชื่อว่ากระดาษธนบัตรปลอมจะเนื้อไม่ดี ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง ฉะนั้นอย่านำวิธีนี้ไปใช้โดยเด็ดขาด
พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ บอกด้วยว่า หากใครคิดที่จะนำธนบัตรปลอมใส่เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ แล้วหัวใสไปกดเงินในเครื่องเอทีเอ็ม เพราะจะได้ธนบัตรจริง โดยมีความคิดที่ว่าเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติไม่สามารถตรวจจับธนบัตรปลอมได้นั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติมีระบบการตรวจสอบยูวีและลายน้ำในธนบัตร
อย่างไรก็ตาม การดูธนบัตรนั้น โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้รับเงินจะสังเกตเฉพาะด้านหน้าของธนบัตร โดยละเลยที่จะพลิกดูด้านหลัง ซึ่งหากพลิกดูกรณีธนบัตรปลอมบางฉบับจะสังเกตได้ง่าย เพราะลวดลายบนเนื้อธนบัตรจะเห็นชัดว่า เป็นการพิมพ์ บ้างก็สีอ่อน เริ่ม เลือนราง ความประณีตไม่เท่าธนบัตรจริง ฉะนั้นการสังเกตธนบัตรให้ถี่ถ้วนทั้งด้านหน้าด้าน หลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในยามนี้
เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกมากกว่าเดิม เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายศูนย์ เงินสดรายหนึ่ง ได้สอนเทคนิคการดูธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ซึ่งต้องยอมรับว่า ธนบัตรปลอมใบละ 1,000 บาท ล็อตใหม่ นั้นผลิตได้เหมือนธนบัตรจริง ชนิดดูด้วยตา เปล่าก็ยังไม่เห็นความผิดปกติ เพราะธนบัตรปลอมล็อตนี้จะมีฟอยล์สีน้ำเงินด้านซ้ายเหมือนของจริง เพียงแต่ธนบัตรปลอมจะไม่มีเลข 1,000 บาท ตัวเล็กๆ ในฟอยล์ หากตะแคงธนบัตรดู
ฉะนั้น วิธีการที่ดีสุดคือ ต้องสัมผัสธนบัตร เพราะธนบัตรปลอมกระดาษจะลื่นกว่าธนบัตรจริง และสำหรับพ่อค้าแม่ค้าควรจะมีธนบัตรใบละ 1,000 บาทจริงวางไว้ข้างตัว เพื่อเทียบกับธนบัตรใบละ 1,000 บาทจากลูกค้า
โดยหากนำมาเทียบกันจะเห็นความ แตกต่างชัดเจน ทั้งสีของธนบัตรจริงที่เข้มกว่า ต่างจากธนบัตรปลอมที่สีจะออกหม่น ลายน้ำไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ วิธีสังเกตธนบัตรปลอม 1,000 บาท อย่างง่ายที่สุดและรวดเร็วที่สุดสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ให้ดูตัวเลข 1,000 ที่อยู่เหนือธนบัตรมุมขวาบน ซึ่งหากนำธนบัตรวางราบจะเห็นท่อนบนเป็นสีทอง ท่อนล่างเป็นสีเขียว ไม่ว่าของจริงของปลอมจะเหมือนกัน
แต่จะแตกต่างกันทันที เมื่อนำธนบัตรพลิกเอียงให้เลข 1,000 อยู่ในแนวนอน ซึ่งธนบัตรจริงตัวเลข 1,000 จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวล้วน ต่างจากธนบัตรปลอม ต่อให้ตะแคงดูสีที่เลข 1,000 อย่างไร สีท่อนบนก็ยังเป็นสีทอง ส่วนครึ่งล่างก็ยังคงสีเขียว (ดูรูปประกอบ)
อาจมีคำถามว่า วิธีนี้จะใช้สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของตอนกลางคืนได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ เพียงแต่พ่อค้าแม่ค้าจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น อาจต้องส่องธนบัตรกับไฟในที่สว่าง แต่วิธีนี้รับรองได้ว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด เพราะตัวเลข 1,000 ของธนบัตรจริงนั้น พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ มีต้นทุนสูงกว่าธนบัตรปลอม
แต่ก็ใช่ว่าโจรหัวใสจะผลิตไม่ได้ เพียงแต่ต้องหาวิธีการและต้นทุนที่สูงขึ้นในการผลิต ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบการลอกเลียนแบบสีของ ตัวเลข 1,000 จึงอุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ความตื่นตระหนกของพ่อค้าแม่ค้า ถึงขั้นไปซื้อไฟแบล็กไลต์จากคลองถมเครื่องละ 400-500 บาท มาส่องธนบัตรนั้น พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ ยืนยันว่า แทบไม่มีประโยชน์ เพราะต้องเพ่งสังเกตลายขนแมว เท่ากับว่าต้องเป็นไฟที่ส่องได้ดี ซึ่งทางที่ดีควรนำธนบัตรส่องไฟดูลายน้ำพระบรมสาทิสลักษณ์ และรูปลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์จะโปร่งแสง มีมิติ แต่ธนบัตรปลอมพุ่มทรงข้าวบิณฑ์จะดูแบน ไม่มีมิติ หรือจะพูดภาษาชาวบ้านคือ รูปในหลวงในธนบัตรจริงจะมีความเหมือนจริงมากกว่า
พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ ยังให้สังเกตธนบัตรปลอม 1,000 บาท ล็อตใหม่ที่ระบาดหนักสุดขณะนี้ จะมีตัวเลขนำหน้า 9A 650XXXX และ 2D 150XXXX
ส่วนความคิดที่ว่า ให้รับธนบัตร 1,000 บาท ที่ดูเก่าจะดีกว่ารับธนบัตรใบใหม่นั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะธนบัตรที่พนักงานรายนี้นำมาให้ดู ทั้งหมดล้วนเป็นธนบัตรกลางเก่ากลางใหม่ที่ผ่านมือมาแล้วหลายราย หรืออาจเป็นไปได้ว่า ส่วนหนึ่งธนบัตรเหล่านี้จะถูก เก็บไว้ทดสอบกับเครื่องตรวจจับธนบัตรของธนาคาร
ในทางกลับกัน หากรับธนบัตรเก่า สำหรับผู้ที่ไม่สังเกตเนื้อกระดาษให้รอบคอบ ความผิดพลาดก็ยิ่งมีมากกว่าการสังเกตธนบัตรใหม่ ซึ่งอาจสังเกตได้ง่ายกว่า
นอกจากนี้ ยังมีความคิดของพ่อค้าแม่ค้าบางส่วนที่ให้ขยำธนบัตรจริง กับธนบัตรที่ได้รับจากการขายของไปพร้อมๆ กัน หากธนบัตรใบนั้นคลายตัวได้เร็วกว่า ก็ตีความว่าเป็นธนบัตรปลอม เพราะพ่อค้าแม่ค้ากลุ่มนี้เชื่อว่ากระดาษธนบัตรปลอมจะเนื้อไม่ดี ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง ฉะนั้นอย่านำวิธีนี้ไปใช้โดยเด็ดขาด
พนักงานธนาคารกรุงเทพรายนี้ บอกด้วยว่า หากใครคิดที่จะนำธนบัตรปลอมใส่เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ แล้วหัวใสไปกดเงินในเครื่องเอทีเอ็ม เพราะจะได้ธนบัตรจริง โดยมีความคิดที่ว่าเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติไม่สามารถตรวจจับธนบัตรปลอมได้นั้น เป็นความคิดที่ผิด เพราะเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติมีระบบการตรวจสอบยูวีและลายน้ำในธนบัตร
อย่างไรก็ตาม การดูธนบัตรนั้น โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้รับเงินจะสังเกตเฉพาะด้านหน้าของธนบัตร โดยละเลยที่จะพลิกดูด้านหลัง ซึ่งหากพลิกดูกรณีธนบัตรปลอมบางฉบับจะสังเกตได้ง่าย เพราะลวดลายบนเนื้อธนบัตรจะเห็นชัดว่า เป็นการพิมพ์ บ้างก็สีอ่อน เริ่ม เลือนราง ความประณีตไม่เท่าธนบัตรจริง ฉะนั้นการสังเกตธนบัตรให้ถี่ถ้วนทั้งด้านหน้าด้าน หลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในยามนี้