สวัสดีครับ คราวนี้ เราจะมาพบธนาคารทหารไทย ซึ่งมีประวัติดังนี้
ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 สาเหตุหลักส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงินไทย การบริหารจัดการที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รัฐบาลกำหนดแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบสถาบันการเงินของไทย โดยมุ่งเน้นให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินมีการควบรวมกิจการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยในวันที่ 20 มกราคม 2547 กระทรวงการคลังได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอนุมัติหลักการ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 เพื่อเปิดโอกาสให้บรรษัทฯ สามารถดำเนินการควบรวมกิจการกับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้บรรษัทฯ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จากนั้นธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงเพื่อรวมกิจการทั้ง 3 สถาบัน และประกาศต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผสานศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของทั้ง 3 สถาบัน ผลักดันให้ธนาคารแห่งใหม่ภายหลังการรวมกิจการสามารถพัฒนาบริการ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ระบบสื่อสารและเทคโนโลยี รวมทั้งบรรษัทภิบาลในระดับมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดต่อผู้ถือหุ้น ตลอดจนพนักงาน เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์และความพอใจสูงสุด และได้รับอนุมัติแผนการรวมกิจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2547 คณะกรรมการทั้ง 3 สถาบันพิจารณาและมีความเห็นร่วมกันว่า สถาบันทั้ง 3 แห่งมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน สามารถนำมาเสริมจุดอ่อนของแต่ละสถาบันได้อย่างเหมาะสม การรวมและโอนกิจการทั้ง 3 สถาบัน จะทำให้ธนาคารหลังการควบรวมเป็นธนาคารที่มีความสมบูรณ์พร้อม มีขนาดองค์กรที่ใหญ่ขึ้น ให้บริการได้หลากหลายและครอบคลุมบริการได้ทุกประเภท เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายและมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารมีปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากการประหยัดต่อขนาด และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลการดำเนินงานดีขึ้นและฐานะทางการเงินมั่นคงแข็งแกร่งมากขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบันและบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โลโก้ธนาคาร มีดังนี้ ( ตามโล้โก้ข้างบน )
Team ( 1 )
Mutual ( 2 )
Benefit ( 3 )
ทำงานร่วมกัน ( 1 )
ร่วมมือ ( 2 )
ผลประโยชน์อันสูงสุด ( 3 )
1.ตัวอักษร T สีแดง หมายถึง การทำงานร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์ และมีพลัง ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน ในทุกๆฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร อันประกอบไปด้วย ผู้ถือหุ้น, คณะกรรมการ พนักงาน และลูกค้า
2.ตัวอักษร M สีน้ำเงินที่ ประกอบด้วย จุดสีน้ำเงิน 2 จุด หมายถึง การจับมือ ร่วมมืออันแข็งแกร่งที่ธนาคาร และลูกค้าจะทำให้ธุรกิจ เดินก้าวไปข้างหน้า อย่างมั่นคง เคียงบ่าเคียงไหล่ เติบโต สู่ความสำเร็จ
3.ตัวอักษร B สีแดงหมายถึง ความตั้งใจที่ธนาคาร สร้างผล ประโยชน์สูงสุด ให้แก่ ลูกค้า ทุกราย
แนวคิดหลัก
เพื่อสะท้อนถึง การผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน อันเกิดจากการรวมกิจการของธนาคารสัญลักษณ์ใหม่ปีนี้นับเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันการเงินแห่งแรกของประเทศไทย ที่นำเอาตัวอักษรภาษาอังกฤษมาใช้ในการออกแบบ เพื่อให้สะดุดตา จดจำง่ายและมีความเป็นสากลซึ่งจะสะท้อนถึงความเป็น "UNIVERSAL BANK" ในระดับสากล
ความหมายรวม
TMB เป็นสถาบันการเงินที่มีพลังในการทำงานร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ผู้ถือหุ้น และลูกค้าทุกรายเพื่อสร้างผลประโยชน์อันสูงสุดให้แก่ธุรกิจ และเดินก้าวไปข้างหน้าสู่ความสำเร็จด้วยกันอย่างมั่นคง