ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (3 ม.ค.) ว่า จากกรณีที่ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ให้สัมภาษณ์กรณีซานติก้า ผับ ย่านเอกมัย เกิดเพลิงไหม้ ว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานบันเทิงแห่งนี้เคยทำเรื่องขอใบอนุญาตเมื่อปี 2547 แต่สถานที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จดีจึงไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ทำให้ทางร้านยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง และศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้เปิดกิจการได้
เมื่อวันที่ 3 ม.ค.52 นายสุชาติ เวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ทำหนังสือชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่า ขณะนี้มีข่าวจากผู้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองที่ชวนให้สังคมเข้าใจว่าศาลปกครองมีส่วนในการทำให้เกิดความเสียหายกรณีซานติก้าผับเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ด้วย โดยได้มีการให้ข่าวในทำนองว่า อาคารซานติก้าผับสร้างไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดรวมทั้งขณะยื่นขออนุญาต อาคารที่ยื่นขอก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และอยู่นอกพื้นที่อนุญาตให้จัดตั้งสถานบริการ (โซนนิ่ง) ดังนั้นตำรวจจึงไม่อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง แต่ต่อมาผู้ประกอบการได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองและศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ผู้ประกอบการเปิดดำเนินกิจการต่อไปได้จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้และมีคนเสียชีวิตจำนวนมากนั้น
สำนักงานศาลปกครอง ขอชี้แจงว่าผู้ประกอบการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 17 พ.ค.47 โดยอ้างว่าได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสถานบันเทิงตามเงื่อนไขของกฎหมายต่อ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ แต่ ผกก. สน.ทองหล่อ ผู้ถูกฟ้อง ละเลยล่าช้าไม่ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ ทำให้ผู้ประกอบการถูกจับกุมในข้อหาเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการจึงขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งต่อมาวันที่ 2 ก.ค.47 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ภายหลังมีการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 ต.ค.47 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จึงได้ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง
ส่วนคดีที่ยื่นฟ้องนั้น ต่อมาวันที่ 7 มี.ค.50 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาให้ ผกก.สน.ทองหล่อ กับพวก ผู้ถูกฟ้อง แพ้คดี โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ผู้ประกอบการได้ยื่นแจ้งตั้งสถานบริการโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ด้วยเหตุผลว่า 1.ผู้ขออนุญาตจัดตั้งสถานบริการ มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 4. คืออายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นผู้วิกลจริต ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นผู้ต้องรับโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นต้น
2.สถานที่ตั้งของสถานบริการไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 7 ซึ่งห้ามตั้งสถานบริการที่อยู่ใกล้ชิดวัด โรงเรียน โรงพยาบาล สโมสรเยาวชน หอพัก และไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัยอันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ รวมทั้งมีทางถ่ายเทอากาศสะดวก และ 3. ผู้ประกอบการยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509
นอกจากนี้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ยังเห็นว่า ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ขณะยื่นแจ้งตั้งสถานบริการดังกล่าว ต้องมีอาคารสถานที่อันเป็นที่ตั้งของสถานบริการที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพราะในการยื่นขออนุญาต ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแปลนและผังก่อสร้างอาคารที่ผ่านความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่โยธา กรุงเทพมหานคร แนบให้ตำรวจพิจารณาอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ตำรวจแจ้งว่าซานติก้าผับ อยู่นอกเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการกรุงเทพมหานคร (โซนนิ่ง) ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบการได้ยื่นคำร้องขอแจ้งการตั้งสถานบริการต่อเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.46 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2546 จะใช้บังคับวันที่ 29 ธ.ค.46 จึงสามารถขอให้อนุญาตจัดตั้งได้ ดังนั้นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ตั้งสถานบริการดังกล่าวของตำรวจ ผู้ถูกฟ้องจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ต่อมาวันที่ 19 เม.ย.50 ฝ่ายตำรวจ ผู้ถูกฟ้อง ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
ทั้งนี้ นายสุชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ยังชี้แจงด้วยว่า ความถูกหรือผิดตามแบบของอาคารซานติก้าผับ เป็นเรื่องของตำรวจและเจ้าหน้าที่โยธาของกรุงเทพมหานครที่จะต้องวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับศาลปกครองแต่ประการใด เพราะการพิจารณาของศาลเป็นเรื่องกรณีที่ตำรวจละเลยล่าช้าในการออกใบอนุญาตสถานบริการซานติก้า เท่านั้น และไม่มีประเด็นเรื่องความถูกผิดตามกฎหมายของแบบอาคารซานติก้าผับ มาให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอย่างที่เป็นข่าวแต่ประการใด โดยเป็นไปไม่ได้ที่ศาลปกครองจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาในเรื่องที่ผิดกฎหมาย การให้ข่าวในทำนองชวนให้สังคมเข้าใจว่าศาลปกครองมีส่วนร่วมเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดเหตุร้ายครั้งนี้ อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทศาลได้
เมื่อวันที่ 3 ม.ค.52 นายสุชาติ เวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ทำหนังสือชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่า ขณะนี้มีข่าวจากผู้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองที่ชวนให้สังคมเข้าใจว่าศาลปกครองมีส่วนในการทำให้เกิดความเสียหายกรณีซานติก้าผับเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ด้วย โดยได้มีการให้ข่าวในทำนองว่า อาคารซานติก้าผับสร้างไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดรวมทั้งขณะยื่นขออนุญาต อาคารที่ยื่นขอก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และอยู่นอกพื้นที่อนุญาตให้จัดตั้งสถานบริการ (โซนนิ่ง) ดังนั้นตำรวจจึงไม่อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง แต่ต่อมาผู้ประกอบการได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองและศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ผู้ประกอบการเปิดดำเนินกิจการต่อไปได้จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้และมีคนเสียชีวิตจำนวนมากนั้น
สำนักงานศาลปกครอง ขอชี้แจงว่าผู้ประกอบการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 17 พ.ค.47 โดยอ้างว่าได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสถานบันเทิงตามเงื่อนไขของกฎหมายต่อ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ แต่ ผกก. สน.ทองหล่อ ผู้ถูกฟ้อง ละเลยล่าช้าไม่ออกใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ ทำให้ผู้ประกอบการถูกจับกุมในข้อหาเปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการจึงขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งต่อมาวันที่ 2 ก.ค.47 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ภายหลังมีการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 ต.ค.47 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จึงได้ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองกลาง
ส่วนคดีที่ยื่นฟ้องนั้น ต่อมาวันที่ 7 มี.ค.50 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาให้ ผกก.สน.ทองหล่อ กับพวก ผู้ถูกฟ้อง แพ้คดี โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ผู้ประกอบการได้ยื่นแจ้งตั้งสถานบริการโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ด้วยเหตุผลว่า 1.ผู้ขออนุญาตจัดตั้งสถานบริการ มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 4. คืออายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นผู้วิกลจริต ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นผู้ต้องรับโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นต้น
2.สถานที่ตั้งของสถานบริการไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 7 ซึ่งห้ามตั้งสถานบริการที่อยู่ใกล้ชิดวัด โรงเรียน โรงพยาบาล สโมสรเยาวชน หอพัก และไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัยอันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ รวมทั้งมีทางถ่ายเทอากาศสะดวก และ 3. ผู้ประกอบการยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509
นอกจากนี้คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ยังเห็นว่า ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ขณะยื่นแจ้งตั้งสถานบริการดังกล่าว ต้องมีอาคารสถานที่อันเป็นที่ตั้งของสถานบริการที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพราะในการยื่นขออนุญาต ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแปลนและผังก่อสร้างอาคารที่ผ่านความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่โยธา กรุงเทพมหานคร แนบให้ตำรวจพิจารณาอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ตำรวจแจ้งว่าซานติก้าผับ อยู่นอกเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการกรุงเทพมหานคร (โซนนิ่ง) ศาลเห็นว่า ผู้ประกอบการได้ยื่นคำร้องขอแจ้งการตั้งสถานบริการต่อเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.46 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2546 จะใช้บังคับวันที่ 29 ธ.ค.46 จึงสามารถขอให้อนุญาตจัดตั้งได้ ดังนั้นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ตั้งสถานบริการดังกล่าวของตำรวจ ผู้ถูกฟ้องจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ต่อมาวันที่ 19 เม.ย.50 ฝ่ายตำรวจ ผู้ถูกฟ้อง ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
ทั้งนี้ นายสุชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ยังชี้แจงด้วยว่า ความถูกหรือผิดตามแบบของอาคารซานติก้าผับ เป็นเรื่องของตำรวจและเจ้าหน้าที่โยธาของกรุงเทพมหานครที่จะต้องวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับศาลปกครองแต่ประการใด เพราะการพิจารณาของศาลเป็นเรื่องกรณีที่ตำรวจละเลยล่าช้าในการออกใบอนุญาตสถานบริการซานติก้า เท่านั้น และไม่มีประเด็นเรื่องความถูกผิดตามกฎหมายของแบบอาคารซานติก้าผับ มาให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอย่างที่เป็นข่าวแต่ประการใด โดยเป็นไปไม่ได้ที่ศาลปกครองจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาในเรื่องที่ผิดกฎหมาย การให้ข่าวในทำนองชวนให้สังคมเข้าใจว่าศาลปกครองมีส่วนร่วมเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดเหตุร้ายครั้งนี้ อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทศาลได้